หากกล่าวถึงที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่ดินในโซนนี้คงเป็นที่ดินในฝันของ นักลงทุนหรือนักธุรกิจหายๆคนเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการมีที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรม ก็เหมือนมีเงินและโอกาสที่จะกอบโกยโดยได้เงินเข้ากระเป๋าเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว แต่รู้หรือไม่ว่า ที่ดินในเขตอุตสาหกรรมนั้น ไม่เพียงแต่จะมีโฉนด มีสิทธิ์ในที่ดดินเท่านั้น แต่ต้องได้รับการอนุญาตถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมด้วย จึงจะสามารถประกอบกิจการได้
การอนุญาตถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม เป็นการกระทำภายใต้ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 44 ที่ระบุไว้ว่า
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมและผู้ประกอบพาณิชยกรรมอาจได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม หรือในเขตประกอบการเสรี แล้วแต่กรณี เพื่อประกอบกิจการได้ตามจำนวนเนื้อที่ที่คณะกรรมการเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น
ในกรณีที่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบพาณิชยกรรม ซึ่งเป็นคนต่างด้าวเลิกกิจการหรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือผู้ประกอบพาณิชยกรรมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์และส่วนควบกับที่ดินนั้นให้แก่ กนอ. หรือผู้รับโอนกิจการ แล้วแต่กรณี ภายในเวลาสามปีนับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ
มิฉะนั้นให้อธิบดีกรมที่ดินจำหน่ายที่ดินและส่วนควบกับที่ดินนั้นให้แก่ กนอ. หรือบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายที่ดิน โดยกำหนดให้มีการขออนุญาตโดยใช้หนังสือคำขออนุญาตในที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม หรือ กนอ.15ส. ยื่น ต่อการนิคมอุตสากรรมแห่งประเทศไทย
จากนั้น การนิคมอุตสากรรมแห่งประเทศไทย ก็จะพิจารณาจากหลักฐานต่างๆ อาทิ สำเนาการรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แผนผังการใช้ที่ดิน สำเนาอนุญาตให้ใช้ที่ดินและประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม สำเนาโอนดที่ดินที่จะการขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับความต้องการใช้พื้นที่ ว่าต้องการใช้พื้นที่เท่าไหร่ พื้นที่โรงงานเท่าไหร่ พื้นที่อาคารประกอบหรือพื้นที่สนับสนุนเท่าไหร่ พื้นที่ว่างทั่วไปเท่าไหร่ พื้นที่สำหรับป้องกันสิ่งเดือดร้อนรำคาญขนาดเท่าไร และสุดท้ายพื้นที่สำรองเพื่อการขยายโรงงานมีนาดเท่าไหร่ เพื่อให้ได้สิทธิ์ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม
หลังจากที่ผ่านการอนุมัติ ก็จะมีการจัดส่งหนังสืออนุญาตไปถึงกรมที่ดินและทำหนังสือแจ้งบริษัทตามลำดับ ซึ่งการขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมนี้
ซึ่งเรื่องนี้ นักลงทุนหรือนักธุรกิจต่างต้องศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วน เรื่องของใบอนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมนี้จัดเป็นเรื่องที่สำคัญและจะมองข้ามไม่ได้เป็นอันขาด
เพราะหากว่าขาดเอกสารใบอนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมนี้ ธุรกิจ หรือโรงงานที่ท่านตั้งใจที่จะทำจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะใบใบอนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมนี้ ถือเป็นเอกสารหลัก ในการติดต่อกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ซึ่งการขออนุญาตเรียกได้ว่าแทบจะทุกอย่างของการนิคมแห่งประเทศไทยนั้น จำเป็นต้องมีอนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในนิคมนี้เป็นเอกสารประกอบด้วยเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การขอรับรองอาคาร การขอยื่นอนุญาตก่อสร้าง